เมนู

เอกาทสกนิเทศ


[662] รูปเรียกว่า จักขายตนะ นั้น เป็นไฉน ?
จักขุใด เป็นปสาทรูป อาศัยมหาภูตรูป 4 ฯลฯ นี้เรียกว่าจักขุบ้าง
ฯลฯ บ้านว่างบ้าง รูปทั้งนี้เรียกว่า จักขายตนะ.
รูปที่เรียกว่า โสตายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า ฆานายตนะ ฯลฯ
ที่เรียกว่า ชิวหายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า กายายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า
รูปายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า สัททายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า คันธายตนะ
ฯลฯ ที่เรียกว่า รสายตนะ ฯลฯ ที่เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ นั้น เป็นไฉน ?
ปฐวีธาตุ ฯลฯ เรียกว่า โผฏฐัพพะบ้าง โผฏฐัพพธาตุบ้าง รูปทั้งนี้
เรียกว่า โผฏฐัพพายตนะ.
รูปเป็นอนิทัสสนะ เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ
นั้น เป็นไฉน ?
อิตถินทรีย์ ฯลฯ กพฬิงการาหาร รูปทั้งนี้เรียกว่า รูปเป็นอนิทัสสนะ
เป็นอัปปฏิฆะ แต่นับเนื่องในธรรมายตนะ.
สงเคราะห์รูปเป็นหมวดละ 11 อย่างนี้.
เอกาทสกนิเทศ จบ
รูปวิภัตติ จบ
ภาณวารที่ 8 จบ

อัฏฐสาลินี อรรถกถาธรรมสังคณี


อรรถกถาจตุกนิทเทส


ในบทสุดท้ายแห่ง (ข้อ 655) การสงเคราะห์รูป 4 หมวด พระผู้มี
พระภาคเจ้ามิได้ทำคำถามไว้ตั้งแต่ต้น เพราะไม่มีความแตกต่างกันแห่งบท
สุดท้ายซึ่งมีคำว่า รูปที่เห็นได้เป็นต้น แต่ได้ตรัสคำมีอาทิว่า รูปที่เห็นได้
คือ รูปายตนะ รูปที่ฟังได้ คือ สัททายตนะ
ดังนี้.
ในบรรดารูปมีรูปายตนะเป็นต้นเหล่านั้น รูปายตนะ ชื่อว่า ทิฏฺฐํ
(รูปที่เห็นได้) เพราะอรรถว่า อันจักษุอาจมองดูเห็นได้. สัททายตนะ ชื่อว่า
สุตํ (รูปที่ฟังได้) เพราะอรรถว่า อันโสตอาจฟังเสียงรู้ได้. หมวดสามแห่ง
อายตนะมีคันธายตนะเป็นต้น ชื่อว่า มุตํ (รูปที่รู้ได้) ด้วยอรรถว่า อัน
ฆานะ ชิวหา และกาย พึงรู้โดยการรับอารมณ์ที่ถึงแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสว่า รูปที่ชื่อ มุตํ เพราะเหตุที่ถูกต้องแล้วจึงเกิดวิญญาณดังนี้ก็มี. ส่วน
รูปทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า วิญฺญาตํ (รูปที่รู้แจ้ง) ทางใจ เพราะอรรถว่า
อันมโนวิญญาณพึงรู้.

อรรถกถาปัญจนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในนิทเทสแห่งการสงเคราะห์รูปหมวด 5 ต่อไป
บทว่า กกฺขฬํ (ธรรมชาติที่แข็ง) คือ กระด้าง. ความกระด้าง
นั่นแหละเรียกว่า ธรรมชาติที่กระด้าง อธิบายว่า ธรรมชาติที่หยาบ. ความแข็ง
ภาวะที่แข็งแม้ทั้ง 2 นอกนี้ก็เป็นการอธิบายสภาวะนั่นเอง.
บทว่า อชฺฌตฺตํ (เป็นภายใน) ได้แก่ เป็นภายในอันเกิดในตน.
บทว่า พหิทฺธา วา (หรือภายนอกก็ตามที) ได้แก่ เป็นภายนอก. บทว่า